วันพฤหัสที่ 17 มิถุนายน 2553
ATT : วูวูเซล่า(vuvuzela)เสียงสวรรค์หรือเสียงนรก?
http://www.rakball.net/overview.php?c=18&id=30467
ATT : วูวูเซล่า(vuvuzela)เสียงสวรรค์หรือเสียงนรก?
http://www.rakball.net/overview.php?c=18&id=30467
เห็นบ่นกันจังเลยถึง "แตรมหาประลัย" ที่ชื่อว่า วูวูเซล่า ซึ่งเป็นอุปกรณ์เชียร์ของเจ้าภาพ มีเสียงที่ดังกึงก้องดัง พญาคชสาร วันนี้เรามารู้จักมันให้มากขึ้นดีกว่า
ที่อังกฤษแฟนบอลร้องเพลงข่มขวัญคู่ต่อสู้ ที่บราซิลแฟนนบอลตีกลองแซมบ้า ที่สวิตเซอร์แลนด์แฟนบอลนิยมสั่นกระดิ่ง แต่ที่แอฟริกาใต้เครื่องเป่าที่ชื่อว่า วูวูเซล่า คืออุปกรณ์การเชียร์ฟุตบอลที่พวกเขาขาดไม่ได้
ที่อังกฤษแฟนบอลร้องเพลงข่มขวัญคู่ต่อสู้ ที่บราซิลแฟนนบอลตีกลองแซมบ้า ที่สวิตเซอร์แลนด์แฟนบอลนิยมสั่นกระดิ่ง แต่ที่แอฟริกาใต้เครื่องเป่าที่ชื่อว่า วูวูเซล่า คืออุปกรณ์การเชียร์ฟุตบอลที่พวกเขาขาดไม่ได้

เสียงที่ดังก้องราวกับเสียงร้องจาก "พญาช้างสาร"ของ วูวูเซล่าอาจมีความดังได้สูงสุดถึง 127 เดซิเบล ดังยิ่งกว่าเสียงของกลองยักษ์, เสียงเครื่องตัดหญ้า(90 เดซิเบล)หรือแม้กระทั่งเสียงของเลื่อยไฟฟ้า(100 เดซิเบล)เสียอีก แต่ที่สำคัญพลังเสียงของวูวูเซล่านั้นมันดังกว่าระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อหู ความรุนแรงมากพอถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง "หูดับ" หรืออาจสูญเสียการได้ยินเป็นการถาวรไปเลยทีเดียว
อานุภาพของเจ้าวูวูเซล่า จะทรงพลังที่สุดตอนช่วง 15นาทีสุดท้ายของเกมครับ เพราะแฟนบอลจะเป่าพวกมันพร้อมกันเพื่อ "ฆ่าศัตรู" ให้เหมือนกับนิทานพื้นบ้านที่ว่า "ลิงบาบูนถูกฆ่าด้วยเสียงดังสนั่น"
ได้มีกลุ่มนักเตะ สตาฟฟ์โค้ช หรือแม้กระทั่ง สถาบันต่างๆได้ออกมาต่อต้านถึงการขายเจ้าวูวูเซล่าและห้ามให้นำเข้ามาเป่าในสนาม เพราะจะเป็นการรบกวนสมาธิของนักเตะในระหว่างแข่งขัน
ล่าสุดทางฟีฟ่าได้ออกมาปฏิเสธที่จะแบน "วูวูเซล่า" ออกจากสนาม โดยเซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานฟีฟ่า ได้ให้เหตุผลว่ามันเป็นเสียงของแอฟริกา"วูวูเซล่า กลอง และการร้องเพลง สิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในเกมฟุตบอลของแอฟริกา มันเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง และส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราจะให้พวกเขาเป่ามันต่อไป"
จะสังเกตุได้ว่านับตั้งแต่เกมเปิดสนมฟุตบอลโลก 2010 ที่เจ้าภาพแอฟริกาใต้ เสมอ เม็กซิโก 1:1จะมีเสียงเจ้า วูวูเซล่าดังกระหึ่มตลอดเกมการแข่งขัน เท่านั้นยังไม่พอในแมตช์อื่นๆที่ทีมของพวกเขาไม่ได้ลงสนาม แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันครั้งนี้ทำให้มีประชาชนชาวแอฟริกาใต้นำเจ้า "แตรมหาประลัย" เข้าไปเป่าร่วมเชียร์กับเขาด้วยโดยเชื่อว่ามันเป็นเสียงสวรรค์ที่จะช่วยให้ทีมของคุณได้รับชัยชนะ และมาร่วมเฉลิมฉลองร่วมกัน แต่ยังไม่ได้ถามเขาเลยว่าเขาต้องการไหม และมันเป็นเสียงสวรรค์อย่างที่พวกคุณคิดจริงๆหรอ ผมว่าเสียงหึ่งๆที่ได้ยินในโทรทัศน์ที่เหมือนเสียงแมลงวัน หรือเสียงผึ้งนั้น มันคือเสียงของนรกมากกว่า(เปิดโทรทัศน์ดูบอลทีไรนึกว่าแมงวันเข้าไปทำรัง)
หลังได้รับเสียงบ่นกันทั่วกับเสียงเป่าแตรวูวูเซล่า (vuvuzela)ทำให้พ่อค้าหัวใสคิดอุปกรณ์ที่ขายดีไม่แพ้กันในการแข่งขันครั้งนี้คือ ที่อุดหู(earplug) มันอาจจะไม่ช่วยให้เสียงเงียบลงเลยทีเดียว แต่ก็ช่วยบรรเทาสุขภาพของหูได้เหมือนกัน เออ....นะ (คิดแบบง่ายๆ ถ้าไม่อยากฟังก็อุดหูไว้สิ)บ่นอยู่ได้......อิอิ
ลองคิดเล่นๆนะ ถ้าเกิดพี่ไทยได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกบ้างจะใช้อุปกรณ์อะไรเชียร์???
ไทยรัฐ : วูวูเซลา : อาวุธลับของเจ้าภาพในเวิลด์ คัพ 2010 ???
วูวูเซลา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "เลปาตาตา" เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประเภทแตร มีความยาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1 เมตร เริ่มมีการนำมาใช้ในวงการกีฬาของแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1990 จากการที่กลุ่มกองเชียร์ของสโมสรฟุตบอล " ไกเซอร์ ชีฟส์ เอฟซี"ในลีกของแอฟริกาใต้เริ่มนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเชียร์ทีมรักของตนในสนามฟุตบอล แต่ชื่อเสียงของวูวูเซลาก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะภายในแอฟริกาใต้เท่านั้น จนกระทั่งมันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรายการ " ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ 2009" ที่จัดขึ้นบนแผ่นดินแอฟริกาใต้เมื่อปีที่แล้วที่ถือเป็นครั้งแรกที่ "แตรนรก" ชนิดนี้ได้แผลงฤทธิ์เขย่าโสตประสาทบรรดากองเชียร์ต่างชาติที่เข้าไปชมเกมในสนามจนทำให้ชาวโลกได้รู้จักมันอย่างเต็มตัวและทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ รวมถึง เสียงเรียกร้องจากประเทศตะวันตกที่ต้องการให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ "ฟีฟ่า" สั่งแบนการใช้เครื่องดนตรีชนิดนี้ในสนามฟุตบอลเป็นการถาวร..
" บิลด์" นิตยสารข่าวชื่อดังของเยอรมนีออกมาเปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดของสถาบัน "โฟนัก"ที่พบว่าเสียงที่ดังก้องราวกับเสียงร้องจาก "พญาช้างสาร"ของ วูวูเซลาอาจมีความดังได้สูงสุดถึง 120 เดซิเบลซึ่งเป็นระดับที่ดังยิ่งกว่าเสียงของเลื่อยยนต์หรือเสียงของกลองยักษ์เสียอีก พร้อมมีการเตือนว่าพลังเสียงของวูวูเซลานั้นมีความรุนแรงมากพอถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง "หูดับ" หรืออาจสูญเสียการได้ยินเป็นการถาวรไปเลยทีเดียว
หลังจากที่ผลการวิจัยชิ้นนี้ถูกนำออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ไม่กี่วัน ทางรัฐบาลท้องถิ่นของแคว้น "นอร์ธ ไรน์ -เวสต์ฟาเลีย" ในเยอรมนีถึงขั้นออกมาเรียกร้องให้ฟีฟ่ารีบออกคำสั่งแบนการใช้วูวูเซลาเป็นการด่วนก่อนที่ศึกฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้จะเปิดฉากขึ้น รวมถึง มีการเรียกร้องให้นานาชาติออกกฎห้ามการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองชนิดนี้ในการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆของโลกทุกรายการในอนาคตด้วยเช่นกัน
ขณะที่แพทย์ชาวเยอรมนีอีกกลุ่มหนึ่งก็ตบเท้าออกมาสนับสนุนการแบนวูวูเซลาอย่างถาวรเช่นเดียวกัน โดยทีมแพทย์กลุ่มนี้เตือนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเสียงที่ดังเกินความพอดีของวูวูเซลาควรรีบมาพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อตรวจเช็คระบบการได้ยินเป็นการด่วนก่อนที่จะกลายเป็นคนหูเสียตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องดังกล่าวดูเหมือนจะไร้ผล เนื่องจากประธานฟีฟ่าชาวสวิตเซอร์แลนด์อย่างโจเซฟ "เซ็ปป์" แบล็ตเตอร์กลับออกโรงคัดค้านการแบนวูวูเซลาแบบ "หัวชนฝา" พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการแบนวูวูเซลาโดยเด็ดขาด เพราะทางฟีฟ่าตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพในสิ่งใดก็ตามที่เป็น "วัฒนธรรมพื้นเมือง"ของประเทศสมาชิกฟีฟ่าทั้ง 208 ประเทศอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นประเทศสมาชิกจากทวีปแอฟริกา เอเชีย หรือยุโรป
ประธานฟีฟ่าให้เหตุผลต่อเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า "ในเมื่อฟุตบอลโลกเป็นการแข่งขันกีฬาที่ได้รับการกล่าวขานให้เป็นกีฬาของผู้คนทั้งโลก ทางฟีฟ่าก็ไม่ว่าจะมีเหตุผลอันใดที่จะไปสั่งห้ามหรือขัดขวางสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกัน ด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของพวกชาวยุโรป" พร้อมระบุว่า หากฟีฟ่าสั่งแบนการใช้วูวูเซลาในสนามฟุตบอลขึ้นมาจริงๆ ก็จะต้องมีเสียงเรียกร้องให้มีการแบนเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีกหลายชนิดตามมาอีกอย่างไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเครื่องดนตรีพื้นเมือง "กอร์เนตา" ที่มีเสียงดังไม่แพ้วูวูเซลาและใช้กันอย่างแพร่หลายมานมนานในบราซิลและอีกหลายประเทศแถบลาตินอเมริกา
แน่นอนว่าการตัดสินใจของประธานฟีฟ่า วัย 74 ปีรายนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่อย่างไรก็ตามก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า วูวูเซลาถือเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้ นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขัน และปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า "เครื่องดนตรีมหาภัย" ชนิดนี้จะกลายเป็นหนึ่งในทีเด็ดหรืออาวุธลับที่อาจช่วยพาทีมนักเตะ "บาฟานา บาฟานา" แอฟริกาใต้ ที่เป็นเจ้าภาพให้ผ่านฉลุยเข้าสู่รอบลึกๆในศึกฟุตบอลโลกที่จัดในบ้านเกิดของตัวเองหนนี้ก็เป็นได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น