ATT 26 : วูวูเซล่า(vuvuzela)เสียงสวรรค์หรือเสียงนรก?

วันพฤหัสที่ 17 มิถุนายน 2553

ATT : วูวูเซล่า(vuvuzela)เสียงสวรรค์หรือเสียงนรก?
http://www.rakball.net/overview.php?c=18&id=30467
เห็นบ่นกันจังเลยถึง "แตรมหาประลัย" ที่ชื่อว่า วูวูเซล่า ซึ่งเป็นอุปกรณ์เชียร์ของเจ้าภาพ มีเสียงที่ดังกึงก้องดัง พญาคชสาร วันนี้เรามารู้จักมันให้มากขึ้นดีกว่า

ที่อังกฤษแฟนบอลร้องเพลงข่มขวัญคู่ต่อสู้ ที่บราซิลแฟนนบอลตีกลองแซมบ้า ที่สวิตเซอร์แลนด์แฟนบอลนิยมสั่นกระดิ่ง แต่ที่แอฟริกาใต้เครื่องเป่าที่ชื่อว่า วูวูเซล่า คืออุปกรณ์การเชียร์ฟุตบอลที่พวกเขาขาดไม่ได้
วูวูเซล่า (vuvuzela)หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "เลปาตาตา" เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประเภทแตร มีความยาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1 เมตร เริ่มมีการนำมาใช้ในวงการกีฬาของแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1990 จากการที่กลุ่มกองเชียร์ของสโมสรฟุตบอล " ไกเซอร์ ชีฟส์ เอฟซี" ในลีกของแอฟริกาใต้เริ่มนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเชียร์ทีมรักของตนในสนามฟุตบอล แต่ชื่อเสียงของวูวูเซล่าก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะภายในแอฟริกาใต้เท่านั้น จนกระทั่งมันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรายการ " ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ 2009" ที่จัดขึ้นบนแผ่นดินแอฟริกาใต้เมื่อปีที่แล้วที่ถือเป็นครั้งแรกที่ "แตรนรก" ชนิดนี้ได้แผลงฤทธิ์เขย่าโสตประสาทบรรดากองเชียร์ต่างชาติที่เข้าไปชมเกมในสนามจนทำให้ชาวโลกได้รู้จักมันอย่างเต็มตัวและทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ รวมถึง เสียงเรียกร้องจากประเทศตะวันตกที่ต้องการให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ "ฟีฟ่า" สั่งแบนการใช้เครื่องดนตรีชนิดนี้ในสนามฟุตบอลเป็นการถาวร

เสียงที่ดังก้องราวกับเสียงร้องจาก "พญาช้างสาร"ของ วูวูเซล่าอาจมีความดังได้สูงสุดถึง 127 เดซิเบล ดังยิ่งกว่าเสียงของกลองยักษ์, เสียงเครื่องตัดหญ้า(90 เดซิเบล)หรือแม้กระทั่งเสียงของเลื่อยไฟฟ้า(100 เดซิเบล)เสียอีก แต่ที่สำคัญพลังเสียงของวูวูเซล่านั้นมันดังกว่าระดับเสียงที่เป็นอันตรายต่อหู ความรุนแรงมากพอถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง "หูดับ" หรืออาจสูญเสียการได้ยินเป็นการถาวรไปเลยทีเดียว

อานุภาพของเจ้าวูวูเซล่า จะทรงพลังที่สุดตอนช่วง 15นาทีสุดท้ายของเกมครับ เพราะแฟนบอลจะเป่าพวกมันพร้อมกันเพื่อ "ฆ่าศัตรู" ให้เหมือนกับนิทานพื้นบ้านที่ว่า "ลิงบาบูนถูกฆ่าด้วยเสียงดังสนั่น"

ได้มีกลุ่มนักเตะ สตาฟฟ์โค้ช หรือแม้กระทั่ง สถาบันต่างๆได้ออกมาต่อต้านถึงการขายเจ้าวูวูเซล่าและห้ามให้นำเข้ามาเป่าในสนาม เพราะจะเป็นการรบกวนสมาธิของนักเตะในระหว่างแข่งขัน

ล่าสุดทางฟีฟ่าได้ออกมาปฏิเสธที่จะแบน "วูวูเซล่า" ออกจากสนาม โดยเซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานฟีฟ่า ได้ให้เหตุผลว่ามันเป็นเสียงของแอฟริกา"วูวูเซล่า กลอง และการร้องเพลง สิ่งเหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมในเกมฟุตบอลของแอฟริกา มันเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง และส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราจะให้พวกเขาเป่ามันต่อไป"

จะสังเกตุได้ว่านับตั้งแต่เกมเปิดสนมฟุตบอลโลก 2010 ที่เจ้าภาพแอฟริกาใต้ เสมอ เม็กซิโก 1:1จะมีเสียงเจ้า วูวูเซล่าดังกระหึ่มตลอดเกมการแข่งขัน เท่านั้นยังไม่พอในแมตช์อื่นๆที่ทีมของพวกเขาไม่ได้ลงสนาม แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าภาพผู้จัดการแข่งขันครั้งนี้ทำให้มีประชาชนชาวแอฟริกาใต้นำเจ้า "แตรมหาประลัย" เข้าไปเป่าร่วมเชียร์กับเขาด้วยโดยเชื่อว่ามันเป็นเสียงสวรรค์ที่จะช่วยให้ทีมของคุณได้รับชัยชนะ และมาร่วมเฉลิมฉลองร่วมกัน แต่ยังไม่ได้ถามเขาเลยว่าเขาต้องการไหม และมันเป็นเสียงสวรรค์อย่างที่พวกคุณคิดจริงๆหรอ ผมว่าเสียงหึ่งๆที่ได้ยินในโทรทัศน์ที่เหมือนเสียงแมลงวัน หรือเสียงผึ้งนั้น มันคือเสียงของนรกมากกว่า(เปิดโทรทัศน์ดูบอลทีไรนึกว่าแมงวันเข้าไปทำรัง)

หลังได้รับเสียงบ่นกันทั่วกับเสียงเป่าแตรวูวูเซล่า (vuvuzela)ทำให้พ่อค้าหัวใสคิดอุปกรณ์ที่ขายดีไม่แพ้กันในการแข่งขันครั้งนี้คือ ที่อุดหู(earplug) มันอาจจะไม่ช่วยให้เสียงเงียบลงเลยทีเดียว แต่ก็ช่วยบรรเทาสุขภาพของหูได้เหมือนกัน เออ....นะ (คิดแบบง่ายๆ ถ้าไม่อยากฟังก็อุดหูไว้สิ)บ่นอยู่ได้......อิอิ

ลองคิดเล่นๆนะ ถ้าเกิดพี่ไทยได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกบ้างจะใช้อุปกรณ์อะไรเชียร์???
ไทยรัฐ : วูวูเซลา : อาวุธลับของเจ้าภาพในเวิลด์ คัพ 2010 ???

วูวูเซลา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "เลปาตาตา" เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองประเภทแตร มีความยาวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ราว 1 เมตร เริ่มมีการนำมาใช้ในวงการกีฬาของแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1990 จากการที่กลุ่มกองเชียร์ของสโมสรฟุตบอล " ไกเซอร์ ชีฟส์ เอฟซี"ในลีกของแอฟริกาใต้เริ่มนำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเชียร์ทีมรักของตนในสนามฟุตบอล แต่ชื่อเสียงของวูวูเซลาก็ยังจำกัดอยู่แต่เฉพาะภายในแอฟริกาใต้เท่านั้น จนกระทั่งมันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายระหว่างการแข่งขันฟุตบอลรายการ " ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ 2009" ที่จัดขึ้นบนแผ่นดินแอฟริกาใต้เมื่อปีที่แล้วที่ถือเป็นครั้งแรกที่ "แตรนรก" ชนิดนี้ได้แผลงฤทธิ์เขย่าโสตประสาทบรรดากองเชียร์ต่างชาติที่เข้าไปชมเกมในสนามจนทำให้ชาวโลกได้รู้จักมันอย่างเต็มตัวและทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบ รวมถึง เสียงเรียกร้องจากประเทศตะวันตกที่ต้องการให้ทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ "ฟีฟ่า" สั่งแบนการใช้เครื่องดนตรีชนิดนี้ในสนามฟุตบอลเป็นการถาวร..

" บิลด์" นิตยสารข่าวชื่อดังของเยอรมนีออกมาเปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดของสถาบัน "โฟนัก"ที่พบว่าเสียงที่ดังก้องราวกับเสียงร้องจาก "พญาช้างสาร"ของ วูวูเซลาอาจมีความดังได้สูงสุดถึง 120 เดซิเบลซึ่งเป็นระดับที่ดังยิ่งกว่าเสียงของเลื่อยยนต์หรือเสียงของกลองยักษ์เสียอีก พร้อมมีการเตือนว่าพลังเสียงของวูวูเซลานั้นมีความรุนแรงมากพอถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง "หูดับ" หรืออาจสูญเสียการได้ยินเป็นการถาวรไปเลยทีเดียว

หลังจากที่ผลการวิจัยชิ้นนี้ถูกนำออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ไม่กี่วัน ทางรัฐบาลท้องถิ่นของแคว้น "นอร์ธ ไรน์ -เวสต์ฟาเลีย" ในเยอรมนีถึงขั้นออกมาเรียกร้องให้ฟีฟ่ารีบออกคำสั่งแบนการใช้วูวูเซลาเป็นการด่วนก่อนที่ศึกฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้จะเปิดฉากขึ้น รวมถึง มีการเรียกร้องให้นานาชาติออกกฎห้ามการใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองชนิดนี้ในการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆของโลกทุกรายการในอนาคตด้วยเช่นกัน

ขณะที่แพทย์ชาวเยอรมนีอีกกลุ่มหนึ่งก็ตบเท้าออกมาสนับสนุนการแบนวูวูเซลาอย่างถาวรเช่นเดียวกัน โดยทีมแพทย์กลุ่มนี้เตือนว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเสียงที่ดังเกินความพอดีของวูวูเซลาควรรีบมาพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อตรวจเช็คระบบการได้ยินเป็นการด่วนก่อนที่จะกลายเป็นคนหูเสียตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องดังกล่าวดูเหมือนจะไร้ผล เนื่องจากประธานฟีฟ่าชาวสวิตเซอร์แลนด์อย่างโจเซฟ "เซ็ปป์" แบล็ตเตอร์กลับออกโรงคัดค้านการแบนวูวูเซลาแบบ "หัวชนฝา" พร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการแบนวูวูเซลาโดยเด็ดขาด เพราะทางฟีฟ่าตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเคารพในสิ่งใดก็ตามที่เป็น "วัฒนธรรมพื้นเมือง"ของประเทศสมาชิกฟีฟ่าทั้ง 208 ประเทศอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นประเทศสมาชิกจากทวีปแอฟริกา เอเชีย หรือยุโรป

ประธานฟีฟ่าให้เหตุผลต่อเรื่องนี้ไว้อย่างน่าฟังว่า "ในเมื่อฟุตบอลโลกเป็นการแข่งขันกีฬาที่ได้รับการกล่าวขานให้เป็นกีฬาของผู้คนทั้งโลก ทางฟีฟ่าก็ไม่ว่าจะมีเหตุผลอันใดที่จะไปสั่งห้ามหรือขัดขวางสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมของชาวแอฟริกัน ด้วยเหตุผลเพียงเพราะว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของพวกชาวยุโรป" พร้อมระบุว่า หากฟีฟ่าสั่งแบนการใช้วูวูเซลาในสนามฟุตบอลขึ้นมาจริงๆ ก็จะต้องมีเสียงเรียกร้องให้มีการแบนเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีกหลายชนิดตามมาอีกอย่างไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะเครื่องดนตรีพื้นเมือง "กอร์เนตา" ที่มีเสียงดังไม่แพ้วูวูเซลาและใช้กันอย่างแพร่หลายมานมนานในบราซิลและอีกหลายประเทศแถบลาตินอเมริกา

แน่นอนว่าการตัดสินใจของประธานฟีฟ่า วัย 74 ปีรายนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่อย่างไรก็ตามก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า วูวูเซลาถือเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในศึกฟุตบอลโลกครั้งนี้ นอกเหนือจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสนามแข่งขัน และปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า "เครื่องดนตรีมหาภัย" ชนิดนี้จะกลายเป็นหนึ่งในทีเด็ดหรืออาวุธลับที่อาจช่วยพาทีมนักเตะ "บาฟานา บาฟานา" แอฟริกาใต้ ที่เป็นเจ้าภาพให้ผ่านฉลุยเข้าสู่รอบลึกๆในศึกฟุตบอลโลกที่จัดในบ้านเกิดของตัวเองหนนี้ก็เป็นได้.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น